เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] 1. อนุวิชชกอนุโยค
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิตหรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็น
แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
แต่ว่าโจทด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัย หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
แล้วนึกสงสัยหรือ

เปรียบเทียบอธิกรณ์
[361] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :544 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] 1. อนุวิชชกอนุโยค
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
เรื่องที่ได้ยินเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเถิด

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[362] ถาม : การโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การโจทมีโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มีการระงับเป็นที่สุด
ถาม : การโจทมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : การโจทมีมูล 2 มีวัตถุ 3 มีภูมิ 5 โจทด้วยอาการ 2 อย่าง
ถาม : การโจทมีมูล 2 เป็นไฉน
ตอบ : การโจทมีมูล การโจทไม่มีมูล นี้การโจทมีมูล 2
ถาม : การโจทมีวัตถุ 3 เป็นไฉน
ตอบ : เรื่องที่ได้เห็น เรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่นึกสงสัย นี้การโจทมีวัตถุ 3
ถาม : การโจทมีภูมิ 5 เป็นไฉน
ตอบ : 1. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
2. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
3. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :545 }